วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

สรุปสาระสำคัญ บทที่3การรู้สารสนเทศ

ความหมาย
     การรู้สารสนเทศ (Information Literacy) หมายถึง ความรู้ความสามารถ และทักษะของบุคคลในการเข้าถึงสารสนเทศแหล่งต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ความเป็นมา
     ในทศวรรษที่ 21 เป็นยุคของสังคมฐานความรู้ (Knowledge-based society) ที่เทคโนโลยีสารสนเทศก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว
          ทักษะการเรียนรู้ในทศวรรษที่ 21 แบ่งได้เป็น 4 ลักษณะ คือ
               1.ทักษะสารสนเทศและการสื่อสาร
               2.ทักษะการคิดและการแก้ปัญหา
               3.ทักษะปฏิสัมพันธ์และการชี้นำตนเอง
               4.การรับผิดชอบต่อสังคม
     นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอสารสนเทศในลักษณะต่างๆ ได้แก่
               - การรู้สื่อ (media literacy) เป็นความสามารถในการเปลี่ยนแปลง วิเคราะห์ ประเมิน และสื่อสาร ในรูปแบบที่มีความหลากหลายของสื่อได้
               - การรู้คอมพิวเตอร์ (computer literacy) เป็นความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์เพื่อเข้าถึงสารสนเทศ
               - การรู้เชิงทัศนะ (visual literacy) เป็นความสามารถในการเข้าใจความหมายและองค์ประกอบต่างๆของภาพที่เห็น
               - การรู้ดิจิตอล (digital literacy) เป็นความสามารถเข้าใจและใช้สารสนเทศรูปแบบต่างๆจากแหล่งท่กวางขวางเมื่อมีการนำเสนอผ่านทางคอมพิวเตอร์ และดิจิตอล
               - การรู้เครือข่าย (network literacy) เป็นความสามารถจัดการกับสารสนเทศในเครือข่ายรอบโลก เพื่อวิเคราะห์ และแก้ปัญหา เพื่อส่งเสริมชีวิตคุณภาพโดยรวม
               - การรู้ห้องสมุด (library literacy)
               - การรู้ด้านภาษา (language literacy ) สามารถกำหนดคำสำคัญในการค้น การคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาน การมีคุณธรรม จริยธรรมทางสารสนเทศ
องค์ประกอบของการรู้สารสนเทศ 
     1.ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศ
     2.ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ
     3.ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดควรใช้สารสนเทศ
     4.ความสามารถในการใช้สารสนเทศที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ
คุณลักษณะและความสามารถในการรู้สารสนเทศ
     1.ตระหนักถึงความจำเป็นของสารสนเทศ
     2.สามารถกำหนดขอบเขตของสารสนเทศที่จำเป็น
     3.เข้าถึงสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     4.ประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศได้
     5.นำสารสนเทศที่คัดสรรแล้วสู่พื้นความรู้เดิมได้
     6.มีประสิทธิภาพในการใช้สารสนเทศได้ตรงตามวัตถุประสงค์
     7.เข้าใจประเด็นทางเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรมและกฎหมายในการใช้สารสนเทศ
     8.เข้าถึงและใช้สารสนเทศได้อย่างมีจริยธรรมและถูกกฎหมาย
     9.แบ่งประเภทจัดเก็บและสร้างความเหมาะสมให้กับสารสนเทศที่รวบรวมไว้
   10.ตระหนักว่าการรู้สารสนเทศช่วยให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
มาตรฐานของผู้รู้สารสนเทศ
     มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนเข้าถึงสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
     มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนประเมินสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาน และอย่างมีความสามารถ
     มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนให้สารสนเทศอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์ การเรียนรู้อย่างอิสระ
     มาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู็ ต้องรู้สารสนเทศ และแสวงหาสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับความสนใจส่วนตัวได้
     มาตรฐานที่ 5 ขั้นประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล
     มาตรฐานที่ 6 ผู้เรียนที่มีอิสระในการเรียนรู้
     มาตรฐานที่ 7 ผู้เรียนสร้างประโยชน์ต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้และสังคม เป็นผู้รู้สารสนเทศและตระหนักถึงความสำคัญของสารสนเทศที่มีต่อสังคมประชาธิปไตย
     มาตรฐานที่ 8 ผู้เรียนสร้างประโยชน์ต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้และสังคม เป็นผู้รู้สารสนเทศ และฝึกฝนให้มีพฤติกรรมที่มีจริยธรรม อันเกี่ยวข้องกับสารสนเทศและเทคโลยีสารสนเทศ
ประโยชน์ของการรู้สารสนเทศ
     ผู้เรียนส่วนใหญ่มีความสุขและชอบการเรียนสารสนเทศ เพราะได้มีโอกาสแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ได้ตามที่ตนต้องการ โดยผู้เรียนกำหนดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีโอกาสค้นคว้าศึกษาหาความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆทั้งจากโลกแห่งความเป็นจริงภายในและภายนอกสถาบันทางการศึกษา และโลกของอิเล็กทรอนิกส์

ที่มา : เอกสารประกอบการสอน รายวิชา 0026 008 การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน