วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สรุปสาระสำคัญ บทที่ 8 เรื่องการใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม

การใช้สารสนเทศก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของมนุษย์
1.ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
   ผลกระทบทางบวก
          1.เพิ่มความสะดวกสบายในการสื่อสาร
          2.เป็นสังคมแห่งการสื่อสารเกิดสังคมโลกขึ้น
          3.มีระบบผู้เชี่ยวชาญต่างๆในฐานข้อมูลความรู้
          4.สร้างโอกาสให้คนพิการ
          5.พัฒนาคุณภาพการศึกษา
          6.การทำงานดีขึ้น
          7.ได้บริโภคสินค้าที่มีคุณภาพมากขึ้น
    ผลกระทบทางลบ
           1.ก่อให้เกิดคามเครียดในสังคม
           2.ก่อให้เกิดการรับวัฒนธรรม
           3.การมีส่วนร่วมในสังคมลดน้อยลง
           4.การละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล
           5.เกิดช่องว่างทางสังคม
           6.เกิดการต่อต้านเทคโนโลยี
           7.อาชญากรรมบนเครือข่าย
           8.เกิดปัญหาด้านสุขภาพ
2.ปัญหาสังคมที่เกิดกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
           2.1มุมมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศมีไว้เพื่อให้มนุษย์บรรลุวัตถุประสงค์
           2.2มุมมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมต่างก็มีกระทบซึ่งกันและกัน
           2.3มุมมองว่าเทคโนโลยีเป็นกลไกในการดำรงชีวิตของมนุษย์
3.แนวทางในการป้องกันและแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
           3.1ใช้แนวทางสร้างจริยธรรม
           3.2สร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง
           3.3ใช้แนวทางการควบคุมสังคมโดยใช้วัฒนธรรมที่ดี
           3.4สร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมชุมชน
           3.5ใช้แนวทางการเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
           3.6ใช้แนวทางการบังคับด้วยกฎระเบียบและกฎหมาย
4.ประเด็นการพิจารณาการใช้จริยธรรมเพื่อแก้ปัญหารสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
          4.1ผลกระทบจากเทคโนโลยีสารสนเทศ และทฤษฎีเรื่องจริยธรรม
          4.2เทคโนโลยีสารสนเทศกับจริยธรรมและการเมือง
          4.3เทคโนโลยีสารสนเทศกับจริยธรรมและความเป็นมนุษย์

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สรุปสาระสำคัญ บทที่่5 การจัดการสารสนเทศ

1.ความหมายการจัดการสารสนเทศ
           หมายถึง การผลิต จัดเก็บ ประมวลผล ค้นหาและเผยแพร่ สารสนเทศโดยจัดให้มีระบบสารสนเทศ การกระจายของสารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์การโดยมีการนำเทคโนโลยีต่างๆโดยเฉพาะเทคโนโยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการจัดการรวมทั้งมีนโยบาย หรือกลยุทธิ์ระดับองค์กรในการจัดการ
สาสนเทศ

2.ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศ
           2.1 ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศต่อุคคล
           2.2 ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศต่อองค์การ
                      1.ความสำคัญด้านการบริหารจัดการ  ใช้ในการวิเคราะห์ปัญหา ทางเลือกในการแก้ปัญหา การตัดสินใจ การกำหนดทิศททางขององค์การ
                      2.ความสำคัญด้านการดำเนินงาน เพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินงาน
                      3.ความสำคัญด้านกฎหมาย  การจัดการสารสนเทศเพื่อการดำเนินงาน จำเป็นต้องสอดคล้องกับกฎหมาย กฎ ระเบียบและข้อบังคับทั้งระดับภายในและภายนอกองค์การ

3.การพัฒนาของการจัดการสารสนเทศ
            3.1 การจัดการสารสนเทศด้วยระบบมือ  การจัดการสารสนเทศระบบมือ ใช้กำลังคนเป็นหลัก มักจะใช้กระดาษ จะมีการจัดหมวดหมู่ของเอกสารต่างๆแล้วแยกเก็บในตู้เอกสารเพื่อสะดวกต่อการค้นหา
            3.2 การจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์  มีขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล การตรวจสอบข้อมูล การประมวลผลข้อมูล และการดูแลรักษา ดังนี้
                       1.การรวบรวมข้อมูล
                       2.การตรวจสอบข้อมูล
                       3.การประมวลผลข้อมูให้กลายเป็นสารสนเทศ
                       4.การดูแลรักาาสาารสนเทศ
                       5.การสื่อสาาร

4.แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศ
             4.1 ขอบเขตของการจัดการสารสนเทศ
                       - การรวบรวมสารสนเทศ เป็นการรวบรวม จัดเก็บสารสนเทศในรูปกระดาษหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์จากแหล่งต่างๆ
                       - การจัดหมวดหมู่ เป็นการนำสารสนเทศที่ได้รวบรวมข้อมูลและนำเข้าสู่ระบบมาจัดหมวดหมู่เพื่อการใช้ประโงทรัพยากรสารสนเทศ
                       - การประมวลผล  เป็นการค้นหาและข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศที่ได้รวบรวมและจัดเก็บไว้
เพื่อจัดกลุ่ม จัดเรียง สรุปและวิเคราะห์ตามต้องการ
                       - การบำรุงรักษา  เป้นการนำสารสนเทศที่จัดเก็บไว้มาใช้ซ้ำ
               ปัจจัยสำคัญของการจัดการสารสนเทศ
                       - เทคโนโลยี มุ่งเน้นเทคโนโลีสารสนเทศ เป็นปัจจัยในการจัดการด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์เพื่อการประยุกต์ในงานต่างๆ
                       - คน ในานะองค์ประกอบของทุกหน่วยงาน เป็นปัจจัยสำคัญในการจัดการสารสนเทศ ครอบคลุมทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิัติงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ารสนเทศ
                       - กระบวนการ เป็นปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐาน แนวปฏิบัติ วิธีที่ใช้ในการจัดการสารสนเทศ
                       - การบริหารจัดการ เป็นปัจจัยสำคัญของการจัดการสารสนเทศที่ดีและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการจัดการในระดับกลยุทธิ์

5.การจัดการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
               ปรับปรุงเพื่อให้ถูกต้องตามกฎระเบียที่วางไว้รวมถึงความต้องการที่จะเปิดใช้บริการใหม่ๆและเพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน



ที่มา : เอกสารประกอบการสอน รายวิชา 0026 008 การจัดการสารนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน
                        

วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

สรุปสาระสำคัญ บทที่3การรู้สารสนเทศ

ความหมาย
     การรู้สารสนเทศ (Information Literacy) หมายถึง ความรู้ความสามารถ และทักษะของบุคคลในการเข้าถึงสารสนเทศแหล่งต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ความเป็นมา
     ในทศวรรษที่ 21 เป็นยุคของสังคมฐานความรู้ (Knowledge-based society) ที่เทคโนโลยีสารสนเทศก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว
          ทักษะการเรียนรู้ในทศวรรษที่ 21 แบ่งได้เป็น 4 ลักษณะ คือ
               1.ทักษะสารสนเทศและการสื่อสาร
               2.ทักษะการคิดและการแก้ปัญหา
               3.ทักษะปฏิสัมพันธ์และการชี้นำตนเอง
               4.การรับผิดชอบต่อสังคม
     นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอสารสนเทศในลักษณะต่างๆ ได้แก่
               - การรู้สื่อ (media literacy) เป็นความสามารถในการเปลี่ยนแปลง วิเคราะห์ ประเมิน และสื่อสาร ในรูปแบบที่มีความหลากหลายของสื่อได้
               - การรู้คอมพิวเตอร์ (computer literacy) เป็นความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์เพื่อเข้าถึงสารสนเทศ
               - การรู้เชิงทัศนะ (visual literacy) เป็นความสามารถในการเข้าใจความหมายและองค์ประกอบต่างๆของภาพที่เห็น
               - การรู้ดิจิตอล (digital literacy) เป็นความสามารถเข้าใจและใช้สารสนเทศรูปแบบต่างๆจากแหล่งท่กวางขวางเมื่อมีการนำเสนอผ่านทางคอมพิวเตอร์ และดิจิตอล
               - การรู้เครือข่าย (network literacy) เป็นความสามารถจัดการกับสารสนเทศในเครือข่ายรอบโลก เพื่อวิเคราะห์ และแก้ปัญหา เพื่อส่งเสริมชีวิตคุณภาพโดยรวม
               - การรู้ห้องสมุด (library literacy)
               - การรู้ด้านภาษา (language literacy ) สามารถกำหนดคำสำคัญในการค้น การคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาน การมีคุณธรรม จริยธรรมทางสารสนเทศ
องค์ประกอบของการรู้สารสนเทศ 
     1.ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศ
     2.ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ
     3.ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดควรใช้สารสนเทศ
     4.ความสามารถในการใช้สารสนเทศที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ
คุณลักษณะและความสามารถในการรู้สารสนเทศ
     1.ตระหนักถึงความจำเป็นของสารสนเทศ
     2.สามารถกำหนดขอบเขตของสารสนเทศที่จำเป็น
     3.เข้าถึงสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     4.ประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศได้
     5.นำสารสนเทศที่คัดสรรแล้วสู่พื้นความรู้เดิมได้
     6.มีประสิทธิภาพในการใช้สารสนเทศได้ตรงตามวัตถุประสงค์
     7.เข้าใจประเด็นทางเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรมและกฎหมายในการใช้สารสนเทศ
     8.เข้าถึงและใช้สารสนเทศได้อย่างมีจริยธรรมและถูกกฎหมาย
     9.แบ่งประเภทจัดเก็บและสร้างความเหมาะสมให้กับสารสนเทศที่รวบรวมไว้
   10.ตระหนักว่าการรู้สารสนเทศช่วยให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
มาตรฐานของผู้รู้สารสนเทศ
     มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนเข้าถึงสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
     มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนประเมินสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาน และอย่างมีความสามารถ
     มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนให้สารสนเทศอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์ การเรียนรู้อย่างอิสระ
     มาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู็ ต้องรู้สารสนเทศ และแสวงหาสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับความสนใจส่วนตัวได้
     มาตรฐานที่ 5 ขั้นประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล
     มาตรฐานที่ 6 ผู้เรียนที่มีอิสระในการเรียนรู้
     มาตรฐานที่ 7 ผู้เรียนสร้างประโยชน์ต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้และสังคม เป็นผู้รู้สารสนเทศและตระหนักถึงความสำคัญของสารสนเทศที่มีต่อสังคมประชาธิปไตย
     มาตรฐานที่ 8 ผู้เรียนสร้างประโยชน์ต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้และสังคม เป็นผู้รู้สารสนเทศ และฝึกฝนให้มีพฤติกรรมที่มีจริยธรรม อันเกี่ยวข้องกับสารสนเทศและเทคโลยีสารสนเทศ
ประโยชน์ของการรู้สารสนเทศ
     ผู้เรียนส่วนใหญ่มีความสุขและชอบการเรียนสารสนเทศ เพราะได้มีโอกาสแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ได้ตามที่ตนต้องการ โดยผู้เรียนกำหนดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีโอกาสค้นคว้าศึกษาหาความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆทั้งจากโลกแห่งความเป็นจริงภายในและภายนอกสถาบันทางการศึกษา และโลกของอิเล็กทรอนิกส์

ที่มา : เอกสารประกอบการสอน รายวิชา 0026 008 การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน