วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สรุปสาระสำคัญ บทที่ 8 เรื่องการใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม

การใช้สารสนเทศก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของมนุษย์
1.ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
   ผลกระทบทางบวก
          1.เพิ่มความสะดวกสบายในการสื่อสาร
          2.เป็นสังคมแห่งการสื่อสารเกิดสังคมโลกขึ้น
          3.มีระบบผู้เชี่ยวชาญต่างๆในฐานข้อมูลความรู้
          4.สร้างโอกาสให้คนพิการ
          5.พัฒนาคุณภาพการศึกษา
          6.การทำงานดีขึ้น
          7.ได้บริโภคสินค้าที่มีคุณภาพมากขึ้น
    ผลกระทบทางลบ
           1.ก่อให้เกิดคามเครียดในสังคม
           2.ก่อให้เกิดการรับวัฒนธรรม
           3.การมีส่วนร่วมในสังคมลดน้อยลง
           4.การละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล
           5.เกิดช่องว่างทางสังคม
           6.เกิดการต่อต้านเทคโนโลยี
           7.อาชญากรรมบนเครือข่าย
           8.เกิดปัญหาด้านสุขภาพ
2.ปัญหาสังคมที่เกิดกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
           2.1มุมมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศมีไว้เพื่อให้มนุษย์บรรลุวัตถุประสงค์
           2.2มุมมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมต่างก็มีกระทบซึ่งกันและกัน
           2.3มุมมองว่าเทคโนโลยีเป็นกลไกในการดำรงชีวิตของมนุษย์
3.แนวทางในการป้องกันและแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
           3.1ใช้แนวทางสร้างจริยธรรม
           3.2สร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง
           3.3ใช้แนวทางการควบคุมสังคมโดยใช้วัฒนธรรมที่ดี
           3.4สร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมชุมชน
           3.5ใช้แนวทางการเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
           3.6ใช้แนวทางการบังคับด้วยกฎระเบียบและกฎหมาย
4.ประเด็นการพิจารณาการใช้จริยธรรมเพื่อแก้ปัญหารสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
          4.1ผลกระทบจากเทคโนโลยีสารสนเทศ และทฤษฎีเรื่องจริยธรรม
          4.2เทคโนโลยีสารสนเทศกับจริยธรรมและการเมือง
          4.3เทคโนโลยีสารสนเทศกับจริยธรรมและความเป็นมนุษย์

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สรุปสาระสำคัญ บทที่่5 การจัดการสารสนเทศ

1.ความหมายการจัดการสารสนเทศ
           หมายถึง การผลิต จัดเก็บ ประมวลผล ค้นหาและเผยแพร่ สารสนเทศโดยจัดให้มีระบบสารสนเทศ การกระจายของสารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์การโดยมีการนำเทคโนโลยีต่างๆโดยเฉพาะเทคโนโยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการจัดการรวมทั้งมีนโยบาย หรือกลยุทธิ์ระดับองค์กรในการจัดการ
สาสนเทศ

2.ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศ
           2.1 ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศต่อุคคล
           2.2 ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศต่อองค์การ
                      1.ความสำคัญด้านการบริหารจัดการ  ใช้ในการวิเคราะห์ปัญหา ทางเลือกในการแก้ปัญหา การตัดสินใจ การกำหนดทิศททางขององค์การ
                      2.ความสำคัญด้านการดำเนินงาน เพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินงาน
                      3.ความสำคัญด้านกฎหมาย  การจัดการสารสนเทศเพื่อการดำเนินงาน จำเป็นต้องสอดคล้องกับกฎหมาย กฎ ระเบียบและข้อบังคับทั้งระดับภายในและภายนอกองค์การ

3.การพัฒนาของการจัดการสารสนเทศ
            3.1 การจัดการสารสนเทศด้วยระบบมือ  การจัดการสารสนเทศระบบมือ ใช้กำลังคนเป็นหลัก มักจะใช้กระดาษ จะมีการจัดหมวดหมู่ของเอกสารต่างๆแล้วแยกเก็บในตู้เอกสารเพื่อสะดวกต่อการค้นหา
            3.2 การจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์  มีขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล การตรวจสอบข้อมูล การประมวลผลข้อมูล และการดูแลรักษา ดังนี้
                       1.การรวบรวมข้อมูล
                       2.การตรวจสอบข้อมูล
                       3.การประมวลผลข้อมูให้กลายเป็นสารสนเทศ
                       4.การดูแลรักาาสาารสนเทศ
                       5.การสื่อสาาร

4.แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศ
             4.1 ขอบเขตของการจัดการสารสนเทศ
                       - การรวบรวมสารสนเทศ เป็นการรวบรวม จัดเก็บสารสนเทศในรูปกระดาษหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์จากแหล่งต่างๆ
                       - การจัดหมวดหมู่ เป็นการนำสารสนเทศที่ได้รวบรวมข้อมูลและนำเข้าสู่ระบบมาจัดหมวดหมู่เพื่อการใช้ประโงทรัพยากรสารสนเทศ
                       - การประมวลผล  เป็นการค้นหาและข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศที่ได้รวบรวมและจัดเก็บไว้
เพื่อจัดกลุ่ม จัดเรียง สรุปและวิเคราะห์ตามต้องการ
                       - การบำรุงรักษา  เป้นการนำสารสนเทศที่จัดเก็บไว้มาใช้ซ้ำ
               ปัจจัยสำคัญของการจัดการสารสนเทศ
                       - เทคโนโลยี มุ่งเน้นเทคโนโลีสารสนเทศ เป็นปัจจัยในการจัดการด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์เพื่อการประยุกต์ในงานต่างๆ
                       - คน ในานะองค์ประกอบของทุกหน่วยงาน เป็นปัจจัยสำคัญในการจัดการสารสนเทศ ครอบคลุมทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิัติงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ารสนเทศ
                       - กระบวนการ เป็นปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐาน แนวปฏิบัติ วิธีที่ใช้ในการจัดการสารสนเทศ
                       - การบริหารจัดการ เป็นปัจจัยสำคัญของการจัดการสารสนเทศที่ดีและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการจัดการในระดับกลยุทธิ์

5.การจัดการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
               ปรับปรุงเพื่อให้ถูกต้องตามกฎระเบียที่วางไว้รวมถึงความต้องการที่จะเปิดใช้บริการใหม่ๆและเพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน



ที่มา : เอกสารประกอบการสอน รายวิชา 0026 008 การจัดการสารนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน
                        

วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

สรุปสาระสำคัญ บทที่3การรู้สารสนเทศ

ความหมาย
     การรู้สารสนเทศ (Information Literacy) หมายถึง ความรู้ความสามารถ และทักษะของบุคคลในการเข้าถึงสารสนเทศแหล่งต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ความเป็นมา
     ในทศวรรษที่ 21 เป็นยุคของสังคมฐานความรู้ (Knowledge-based society) ที่เทคโนโลยีสารสนเทศก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว
          ทักษะการเรียนรู้ในทศวรรษที่ 21 แบ่งได้เป็น 4 ลักษณะ คือ
               1.ทักษะสารสนเทศและการสื่อสาร
               2.ทักษะการคิดและการแก้ปัญหา
               3.ทักษะปฏิสัมพันธ์และการชี้นำตนเอง
               4.การรับผิดชอบต่อสังคม
     นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอสารสนเทศในลักษณะต่างๆ ได้แก่
               - การรู้สื่อ (media literacy) เป็นความสามารถในการเปลี่ยนแปลง วิเคราะห์ ประเมิน และสื่อสาร ในรูปแบบที่มีความหลากหลายของสื่อได้
               - การรู้คอมพิวเตอร์ (computer literacy) เป็นความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์เพื่อเข้าถึงสารสนเทศ
               - การรู้เชิงทัศนะ (visual literacy) เป็นความสามารถในการเข้าใจความหมายและองค์ประกอบต่างๆของภาพที่เห็น
               - การรู้ดิจิตอล (digital literacy) เป็นความสามารถเข้าใจและใช้สารสนเทศรูปแบบต่างๆจากแหล่งท่กวางขวางเมื่อมีการนำเสนอผ่านทางคอมพิวเตอร์ และดิจิตอล
               - การรู้เครือข่าย (network literacy) เป็นความสามารถจัดการกับสารสนเทศในเครือข่ายรอบโลก เพื่อวิเคราะห์ และแก้ปัญหา เพื่อส่งเสริมชีวิตคุณภาพโดยรวม
               - การรู้ห้องสมุด (library literacy)
               - การรู้ด้านภาษา (language literacy ) สามารถกำหนดคำสำคัญในการค้น การคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาน การมีคุณธรรม จริยธรรมทางสารสนเทศ
องค์ประกอบของการรู้สารสนเทศ 
     1.ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศ
     2.ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ
     3.ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดควรใช้สารสนเทศ
     4.ความสามารถในการใช้สารสนเทศที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ
คุณลักษณะและความสามารถในการรู้สารสนเทศ
     1.ตระหนักถึงความจำเป็นของสารสนเทศ
     2.สามารถกำหนดขอบเขตของสารสนเทศที่จำเป็น
     3.เข้าถึงสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     4.ประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศได้
     5.นำสารสนเทศที่คัดสรรแล้วสู่พื้นความรู้เดิมได้
     6.มีประสิทธิภาพในการใช้สารสนเทศได้ตรงตามวัตถุประสงค์
     7.เข้าใจประเด็นทางเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรมและกฎหมายในการใช้สารสนเทศ
     8.เข้าถึงและใช้สารสนเทศได้อย่างมีจริยธรรมและถูกกฎหมาย
     9.แบ่งประเภทจัดเก็บและสร้างความเหมาะสมให้กับสารสนเทศที่รวบรวมไว้
   10.ตระหนักว่าการรู้สารสนเทศช่วยให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
มาตรฐานของผู้รู้สารสนเทศ
     มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนเข้าถึงสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
     มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนประเมินสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาน และอย่างมีความสามารถ
     มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนให้สารสนเทศอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์ การเรียนรู้อย่างอิสระ
     มาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู็ ต้องรู้สารสนเทศ และแสวงหาสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับความสนใจส่วนตัวได้
     มาตรฐานที่ 5 ขั้นประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล
     มาตรฐานที่ 6 ผู้เรียนที่มีอิสระในการเรียนรู้
     มาตรฐานที่ 7 ผู้เรียนสร้างประโยชน์ต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้และสังคม เป็นผู้รู้สารสนเทศและตระหนักถึงความสำคัญของสารสนเทศที่มีต่อสังคมประชาธิปไตย
     มาตรฐานที่ 8 ผู้เรียนสร้างประโยชน์ต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้และสังคม เป็นผู้รู้สารสนเทศ และฝึกฝนให้มีพฤติกรรมที่มีจริยธรรม อันเกี่ยวข้องกับสารสนเทศและเทคโลยีสารสนเทศ
ประโยชน์ของการรู้สารสนเทศ
     ผู้เรียนส่วนใหญ่มีความสุขและชอบการเรียนสารสนเทศ เพราะได้มีโอกาสแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ได้ตามที่ตนต้องการ โดยผู้เรียนกำหนดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีโอกาสค้นคว้าศึกษาหาความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆทั้งจากโลกแห่งความเป็นจริงภายในและภายนอกสถาบันทางการศึกษา และโลกของอิเล็กทรอนิกส์

ที่มา : เอกสารประกอบการสอน รายวิชา 0026 008 การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน
       

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สรุปสาระสำคัญ บทที่่1 แนวคิดและแนวโน้มเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศยุคใหม่

ความหมายของสารสนเทศ
        สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลข่าวสาร ที่ได้มีการจัดการไม่ว่าจะเป็นการคิดคำนวณ ประมาลผลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ ได้มีการเลือกสรรและนำไปใช้ให้ทันต่อความต้องการในการใช้งานและทันเวลา
ความสำคัญ
        1.เป็นรากฐานที่สำคัญในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน องค์กรของรัฐบาลและเอกชน การศึกษาและวิจัย แม้แต่บุคคลทั่วไป
        2.ช่วยในการถ่ายทอดวิชาการและเทคโนโลยีจากบุคคลหนึ่งไปสู่บุคหนึ่งหรือระหว่างหน่วยงาน หรือระหว่างประเทศ
        3. เป็นแนวคิด แนวทางในการเกิดความรู้ใหม่ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศต่อไป
ประเภทของสารสนเทศ
        1.จำแนกตามแหล่งสารสนเทศ
             1.1 แหล่งปฐมภูมิ  คือ สารสนเทศที่ได้มาจากต้นแหล่งโดยตรง
             1.2 แหล่งทุติยภูมิ  คือ สารสนเทศที่มีการรวบรวม เรียบเรียงขึ้นใหม่จากแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ
             1.3 แหล่งตติยภูมิ  คือ สารสนเทศที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการค้นหาสาารสนเทศจากแหล่งปฐมภูมิและทุติยภูมิ
         2.จำแนกตามสื่อที่จัดเก็บ
             2.1 กระดาษ เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูล สารสนเทศ
             2.2 วัสดุย่อส่วน
             2.3 สื่ออิเลกทรอนิกหรือสื่อแม่เหล็ก
             2.4 สื่อแสงหรือออปติก
คุณสมบัติของสารสนเทศ
             1.สามารถเข้าถึงได้ง่าย                    2.มีความถูกต้อง
             3.มีความครบถ้วน                            4.ความเหมาะสม
             5.ความทันต่อเวลา                          6.ความชัดเจน
             7.ความยืดหยุ่น                                8.ความสามารถในการพิสูจน์ได้
             9.ความซ้ำซ้อน                              10.ความไม่ลำเอียง
แหล่งสารสนเทศ
          แหล่งสารสนเทศ หมายถึง แหล่งที่เกิด แหล่งที่ผลิต หรือแหล่งที่จัดเก็บและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ
          1. แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบัน หมายถึง สถาบันที่ตั้งขึ้นมาเพื่อ จัดหา รวบรวมวัสดุสารสนเทศชนิดต่างๆมาจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ
          2. แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่ คือ แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่จริง หรือสถานที่จำลอง
          3. แหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล ได้แก่ผู้เชี่ยวชาญ ผู้รอบรู้ในสาขาวิชาต่างๆ
          4. แหล่งสารสนเทสที่เป็นเหตุการณ์ ได้แก่ กิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้น
          5. แหล่งสารสนเทศสื่อมวลชน เป็นแหล่งที่มุ่งเผยแพร่สารสนเทศ
          6. แหล่งสารสนเทศที่เป็นอินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ทรัพยากรสารสนเทศ
          ทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง วัสดุหรือสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ ความรู้ และความคิดต่างๆ หรืออาจเรียกว่า วัสดุสารสนเทศ แบ่งเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
          1. ทรัพยากรตีพิมพ์ เป็นสารสนเทศที่มีลักษณะเป็นแผ่น หรือรูปเล่มที่ตีพิมพ์ในกระดาษ
          2. ทรัพยากรไม่ตีพิมพ์ คือ ทรัพยากรสารสนเทศที่มีลักษณะสำคัญที่ให้สารสนเทศ ความรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทางหู ตา ด้วยการดูและการฟัง
          3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึงการจัดเก็บสารสนเทศที่อยู่ในรูปของดิจิทัล

ที่มา : เอกสารประกอบการสอน รายวิชา 0026008 การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน